วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น



รายงานการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
เรื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์

โดย
1.นายธีรภาพ    จิตแจ้ง    เลขที่ 6
2.นางสาวโสรยา   สุนทโรจน์  เลขที่ 25
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

เสนอ
คุณครู ศริญ เชยคำแหง
ที่ปรึกษา
คุณตรู มนตรี    สุดาปัน
คุณครู ลมัย     สวัสดี

โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ


กิตติกรรมประกาศ
                  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เรื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น    รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ รหัสวิชา I31202  ฉบับนี้ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยดี ได้รับความกรุณา  และช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูศริญ เชยคำแหง โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 คุณครูมนตรี   สุดาปัน โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 คุณครูลมัย  สวัสดี โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้        และให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้องอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้
                  ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ที่ได้กรุณาให้ความร่วมมือเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า
                   ขอขอบคุณ ครอบครัวที่ให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจในการทำงานจนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จ คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษารายงานฉบับนี้ ผู้ศึกษาขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดา ครู อาจารย์ ที่มีส่วนให้ชีวิต และเมตตาอบรมสั่งสอนให้เกิดปัญญาแก่ผู้ศึกษา จนประสบผลสำเร็จ

        ธีรภาพ    จิตแจ้ง 
                                                                                                                                            โสรยา   สุนทโรจน์





ชื่อเรื่อง                  ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  รายวิชาการศึกษาค้นคว้า 
                               และสร้างองค์ความรู้ รหัสวิชา I31202 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม  
                              จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ผู้ศึกษา                   ธีรภาพ   จิตแจ้ง
                               โสรยา  สุนทโรจน์
สถานศึกษา            โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
                               สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีที่ศึกษาค้นคว้า     2558

บทคัดย่อ
                    การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาโทษของการสูบบุหรี่ และศึกษาสาเหตุของการสูบบุหรี่ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในปัจจุบัน          3) เพื่อเผยแพร่ความรู้จากการศึกษาให้กับชุมชนและกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน  ประชากรกลุ่มตัวอย่าง   ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 120 คน เป็นชายทั้งหมด โดยการกรอกแบบสอบถามจำนวน 120 ชุด  เรื่องปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น จำนวน 11 ข้อ โดยมีระดับความคิดเห็น 5 ระดับ คือค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50  หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย     2.51-3.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50  หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย  ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (%) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้              
                   1.โทษของการสูบบุหรี่และสาเหตุของการสูบบุหรี่ซึ่งโทษของการสูบบุหรี่ คือ ทำให้เป็นโรคสมรรถภาพการทำงานของร่างกายเสื่อมลงและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร   โรคมะเร็งปอด   โรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว    โรคระบบทางเดินอาหารจากบุหรี่มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก สาเหตุของการสูบบุหรี่ คือ เกิดจากการที่วัยรุ่นมีความอยากรู้อยากลอง วัยรุ่นเป็นวัยที่มีเพื่อนมากเมื่อเห็นเพื่อนสูบบุหรี่จึงทำตามเพื่อนถ้าสูบบุหรี่แล้วจะเกิดการยอมรับภายในกลุ่ม สามารถเข้าร่วมกับกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ได้
                2. นักเรียนมีความคิดเห็นว่า สาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ มากที่สุดอันดับที่ 1คือ เกิดจากการที่วัยรุ่นมีความอยากรู้อยากลอง คิดเป็นร้อยละ 49.1 อันดับที่ 2 คือ วัยรุ่นสูบบุหรี่โดยการทำตามบุคคลในครอบครัว เช่น สมาชิกภายในครอบครัว ผู้ปกครอง เครือญาติ สูบวัยรุ่นจึงทำตาม คิดเป็นร้อยละ 34.1  และอันดับที่ 3 คือ คือสูบเพราะอิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน การลอกเลียนแบบดารา นักร้อง ที่ตนเองชื่นชอบ คิดเป็นร้อยละ 26.6  และประชากรกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า สาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่น้อยที่สุด อันดับที่ 1คือ คิดว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่โก้เก๋  ทันสมัย ไม่ตกยุค คิดเป็นร้อยละ15.0 อันดับที่ 2 คือ ท่านสูบโดยการทำตามเพื่อน เพื่อนชวน คิดเป็นร้อยละ 15.8 และสูบเพราะว่าเป็นความเคยชิน คิดเป็นร้อยละ 15.8 อันดับที่ 3 คือ เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่เข้าไปแล้วจะทำให้จิตใจแจ่มใส ไม่ง่วง คิดเป็นร้อยละ 18.3
                3.  เผยแพร่ความรู้จากการศึกษาให้กับชุมชนและกลุ่มเยาวชนในโรงเรียนโดยมีการแจกแผ่นผับให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและโทษของการสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน ภายในโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ถึงสาเหตุและโทษของการสูบบุหรี่ และจัดทำแผ่นผับ เรื่องโทษของบุหรี่ นำไปแจกให้กับนักเรียนในโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ และผู้คนในชุมชนบ้านหนองม่วง หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองแก อำเภอ ท่าตูม จังหวัด สุรินทร์และบ้านม่วงมูล หมูที่  ตำบลหนองบัว อำเภอรัตนะ  จังหวัดสุรินทร์
สรุป
             ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
รหัสวิชา I31202 เป็นการศึกษาค้นคว้าที่เชื่อถือได้ และมีคุณค่าเหมาะสมที่จะนำไปนำเสนอและประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน ซึ่งอยู่ในวัยเรียนได้รับรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
                                                                         










   สารบัญ
                                                                                                                                                              หน้า
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                     ก
บทคัดย่อ                                                                                                                                                    
บทที่ 1 บทนำ (Introduction)                                                                                                     
1.1 ที่มาและความสำคัญ (Background of the Stud)                                                                         1-2
           1.2 วัตถุประสงค์ (Objectives of the study)                                                                                          3
           1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Benefits of the stud)                                                                         3
           1.4 ขอบเขตการศึกษา (Scope of the study)                                                                                         3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ( Review of Literature)
           2.1ความหมายของบุหรี่                                                                                                                        4
           2.2สารเคมีที่พบในบุหรี่                                                                                                                       5
           2.2 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการเริ่มสูบบุหรี่                                                                                           6-7
           2.3โทษของการสูบบุหรี่                                                                                                                   8-9
           2.4 ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่                                                                                                  9-12
           2.5 แนวทางการแก้ไขปัญหา                                                                                                         12-13
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Methodology)
            3.1 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง                                                                                                                14  
            3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า                                                                                               14
            3.3 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ                                                                                         15
            3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล                                                                                                                 15
            3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                                 15-16                     
     3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                   16
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า (Findings/Results)
            4.1 ข้อมูลส่วนตัว                                                                                                                         17-18
            4.2 ผลการสำรวจปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น                                                                            18-20



สารบัญ ( ต่อ )
                                                                                                                                        หน้า

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusion and Discussion)
       5.1 วัตถุประสงค์ (Objectives of the Study)                                                                                           21
       5.2 สรุปผล (Conclusion)                                                                                                                  21-22
       5.3 อภิปรายผล (Discussion)                                                                                                             22-23
       5. 4 ข้อเสนอแนะ (Suggestion)                                                                                                              23
บรรณานุกรม                                                                                                                                                 24
ภาคผนวก ก.                                                                                                                                            25-26
ภาคผนวก ข.                                                                                                                                            27-29
ภาพผนวก ค.                                                                                                                                           30-37
ภาคผนวก ง.                                                                                                                                            38-39




บทที่1
บทนำ (Introduction)

ที่มาและความสำคัญ (Background of the Study)
                บุหรี่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร       และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟและอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน (มูลนิธิวิกิมีเดีย. 2557)
                 ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรกโดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่างๆ ใน พ.ศ. ๒๐๓๕เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมามวนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควันนายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกสได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศสชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๑๐๗ เซอร์จอห์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าไปในประเทศอังกฤษ และใน พ.ศ. ๒๑๕๕ นายจอห์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษ ประสบผลสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก และ ๗ ปีต่อมาก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล  อีก ๒๐๐ ปีต่อมาการทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก(มูลนิธิวิกิมีเดีย. 2551)
                  ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของ เมอร์ซิเออร์เดอลาลูแบร์ (Monsieur De La Loubre)  อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่าคนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้ชายและผู้หญิงโดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลา ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ จากประเทศจีนและที่ปลูกในประเทศเอง      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้นเพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกันครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการผลิตบุหรี่ขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษเป็นเจ้าของได้เปิดดำเนินการเป็นบริษัทแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๐การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนีและทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้นจนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้นโดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบ จำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม๔ กรุงเทพฯ และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิตกระทรวงการคลัง หลังจากนั้น  รัฐบาลได้ซื้อกิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟัน และบริษัทบริติชอเมริกันโทแบกโคเพิ่มขึ้นแล้วรวมกิจการทั้งหมดเข้าด้วยกัน และดำเนินการภายใต้ชื่อว่าโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังมาจนถึงปัจจุบัน
                      ปัจจุบันในประเทศไทย มะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคที่พบมาก และเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ทั้งเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์ของโรคนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศหญิงผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 90 เกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ธรรมชาติทางชีววิทยาของโรคมะเร็งปอด ทำให้พบผู้ป่วยเมื่อเริ่มมีอาการในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 90 เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายในเวลา 1-2 ปีโรคมะเร็งปอดพบมากในผู้สูงอายุวัย 50-75 ปีผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ปริมาณมาก และประมาณร้อยละ 5 เป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวันและชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบบุหรี่ร้อยละ 15 จะเกิดโรคมะเร็งปอดภายในเวลา 30 ปีถ้าเลิกสูบบุหรี่สามารถลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 15 ปีอัตราการสูบบุหรี่ จำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จนั้นก่อนประถมศึกษาร้อยละ23.1  ระดับประถมศึกษาร้อยละ23.9  ระดับมัธยมศึกษาร้อยละ32(มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ16.4 มัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ15.6) ระดับอุดมศึกษาร้อยละ9.4การศึกษาอื่นๆร้อยละ4.7 และไม่ทราบการศึกษาร้อยละ13.6 จะเห็นได้ว่า ระดับมัธยมศึกษามีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด คือร้อยละ32 และการศึกษาอื่นๆ มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำที่สุด คือร้อยละ4.7 (ผศ.ดร.ปิยลักษณ์ พุทธวงศ์.2556)
                          บุหรี่จัดเป็นยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาทที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในด้านสาธารณสุขอย่างมาก ปัจจุบันปัญหาการสูบบุหรี่ได้แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนทั่วไปเนื่องจากบุหรี่เป็นยาเสพติดที่หาซื้อได้ง่ายเสพติดง่ายแต่เลิกยากนั่นเอง ผู้ที่สูบบุหรี่แทบทั้งหมดเริ่มติดบุหรี่ตั้งแต่วัยรุ่นปัญหาการสูบบุหรี่ ในสถานศึกษาทุกวันนี้การสูบหรี่ยังแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นถึงแม้จะทราบกันดีถึงพิษภัยของมัน และรัฐบาลเองก็มีมาตรการป้องกันและรณรงค์ เช่น การออกกฎหมายไม่ให้โชว์บุหรี่หน้าร้านข้างซองบุหรี่มีคำเตือน และรูปที่น่ากลัวสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่งซึ่งจากการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆยังบอกว่ายอดขายลดลงจากเดิม แต่ไม่มากนัก แม้ลดลงเพียงเล็กน้อยก็เป็นสิ่งที่น่ายินดีและปัญหาดังกล่าวยังลุกลามไปยังวัยรุ่นที่กำลังศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆและในโรงเรียนของข้าพเจ้าก็มีกลุ่มนักเรียนในช่วงชั้นระดับมัธยมที่สูบบุหรี่  และในชุมชนของข้าพเจ้าคนเฒ่าคนแก่ก็สูบบุหรี่เช่นเดียวกัน นักเรียนอยู่ในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่แต่กลับมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คือมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และในปัจจุบันนั้นพฤติกรรมดังกล่าวยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในกลุ่มนักเรียนชาย มีการจับกลุ่มกันเพื่อสูบบุหรี่การสูบบุหรี่นั้นเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาและผลกระทบต่างๆมากมาย ดังนั้น เพื่อให้วัยรุ่นได้ตระหนัก  และมองเห็นความสำคัญของภัยต่างๆที่จะเกิดตามมาจากการสูบบุหรี่ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ทำการศึกษา เรื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ ให้ความรู้กับนักเรียนและชุมชน
วัตถุประสงค์(Objectives of the study)
1)            เพื่อศึกษาโทษของการสูบบุหรี่ และศึกษาสาเหตุของการสูบบุหรี่
2)            เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในปัจจุบัน
3)            เพื่อเผยแพร่ความรู้จากการศึกษาให้กับชุมชนและกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Benefits of the study)
1)            ผู้ศึกษารู้และเข้าใจถึงโทษของการสูบบุหรี่และสาเหตุของการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น
2)            ผู้ศึกษารู้และเข้าใจถึงทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในปัจจุบัน
3)            ผู้ศึกษานำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับชุมชนและกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน
4)            ขอบเขตการศึกษา (Scope of the study)  
       ประชากร
               ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
        กลุ่มตัวอย่าง                                                                                                                                                 
               กลุ่มตัวอย่าง  เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา     เขต 33 จำนวน 90 คน ประกอบด้วย
           นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน เป็นนักเรียนชาย 40 คน
           นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน เป็นนักเรียนชาย 40 คน
           นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน เป็นนักเรียนชาย 40 คน




บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
          
               การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าเอกสาร วรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี
      1.ความหมายของบุหรี่
      2.สารเคมีที่พบในบุหรี่
      3.ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการเริ่มสูบบุหรี่
      4.โทษของการสูบบุหรี่
      5.ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่
         -การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินระบบหายใจ
         -การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
         -การหยุดสูบบุหรี่กับมะเร็งนอกระบบทางเดินหายใจ
         -การหยุดสูบบุหรี่และโรคปอดชนิดอื่นๆ
         -การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
         -การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
         -การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และพฤติกรรมหลังการสูบบุหรี่
      6.แนวทางการแก้ไขปัญหา

ความหมายของบุหรี่
                   บุหรี่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน10 มิลลิเมตรมีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟและอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควันคำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายในแต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพร อื่น ๆ เช่นกัญชา (มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.2552)
                   บุหรี่ ต่างจากซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่าซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมียเมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบจากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2553)

สารเคมีที่พบในบุหรี่
                    สารเคมีในบุหรี่ ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิดซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษสารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (en:mutagenic) และสารก่อมะเร็ง (en:carcinogen) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบได้แก่
                   1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่นการสูบบุหรี่ 1-2 ม้วนแรก อาจกระตุ้นทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายม้วนก็จะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆช้าลง ร้อยละ 95 ของนิโคติน จะไปจับอยู่ที่ปอดบางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น         หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มระดับไขมันในเส้นเลือด บุหรี่ 1 ม้วนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลลิกรัม(ค่ามาตรฐานสากลกำหนดไว้ 1 มิลลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้
                   2. ทาร์ สารคล้ายน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะรวมกันเป็นสารสีน้ำตาล เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งปอด กล่องเสียงหลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง ในคนที่สูบบุหรี่วันละซอง ปอดจะได้รับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30 มิลลิกรัม/มวน หรือ 110 กรัม/ปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลลิกรัม/มวน
                  3. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการนำพาออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง    ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้เท่ากับระยะเวลาปกติ ทำให้เซลร่างกายเกิดอาการขาดออกซิเจน จะรู้สึกมึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งสาเหตุสำคัญให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนเป็นโรคหัวใจได้
                 4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงตื่นนอนตอนเช้าจะมีมากขึ้น
                 5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุส่วนปลายและถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางและโป่งพอง ถุงลมเล็กในปอดแตกกลายเป็นถุงขนาดใหญ่ ทำให้ลดพื้นที่ผิวที่จะใช้จับและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ทำให้การยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกลดลง จนเกิดอาการโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด
                6. แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตาแสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอ และมีเสมหะมาก
                7. สารกัมมันตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะที่ร้ายแรงในการนำสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่ได้สูบบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษเหล่านี่เข้าไปด้วย (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
            จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปความหมายของบุหรี่ได้ว่า บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษมีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ   มีสารเคมีในไส้บุหรี่จำนวนมากที่เป็นสารพิษ
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการเริ่มสูบบุหรี่
            ในภาวะปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาต่างๆที่ตอนนี้สังคมไทยยังแก้ไม่ได้อีกมากมาย และในตอนนี้ปัญหาที่หนักหน่วงเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง ก็คือ การติดบุหรี่ของคนไทย ที่มีอัตราการเพิ่งขึ้นมากเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ยังไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายต่อตนเองมากแค่ไหน เป็นการเพิ่มอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น       จึงเป็นอีกปัญหาที่สมควรจะได้รับการแก้ไขอย่างยิ่ง บางครอบครัวมีพ่อสูบบุหรี่ คุณรู้หรือไม่ว่าทุกครั้งที่คุณสูบบุหรี่พร้อมๆ กับพ่นควันโขมงไปทั้งบ้านอย่างมีความสุขอยู่นั้น คุณได้ก่อให้เกิดโศกอนาทตกรรมอย่างร้ายแรงแก่ลูกน้อยและเด็กในครอบครัวของคุณอย่างไม่อาจให้อภัยได้ เพราะนั่นเป็นบ่อเกิดแห่งการติดบุหรี่ของเยาวชนไทย
            ความอยากลองเยาวชนที่สูบบุหรี่ร้อยละ ๓๘.๔ เริ่มสูบบุหรี่ เพราะความอยากลองซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่น ที่ความอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทายน่าตื่นเต้น และสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตาม
             ตามอย่างเพื่อนเยาวชนที่สูบบุหรี่ร้อยละ ๓๕.๙ เริ่มสูบบุหรี่ เพราะเพื่อนชวนบางคนมีเจตคติที่ว่า   ถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อนไม่ได้เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม และหลายคนไม่กล้าเลิกสูบบุหรี่เพราะกลัวเพื่อนจะล้อเลียน และไม่ให้เข้ากลุ่ม
             ตามอย่างคนในบ้านเมื่อมีคนในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือญาติพี่น้องซึ่งอยู่บ้านเดียวกันสูบบุหรี่ หลายคนจะสูบบุหรี่เพราะเห็นการสูบในบ้านมาแต่เด็ก จึงคิดว่า เป็นเรื่องธรรมดาหรือวัยรุ่นหลายคน จะตามอย่างญาติพี่น้อง อยากลองสูบตามบ้าง และคิดว่าเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นชาย        มีงานวิจัยพบว่าถ้าบิดามารดาสูบบุหรี่ จะทำให้ลูกมีแนวโน้มในการ สูบบุหรี่สูงถึง ๓ เท่า
              เพื่อเข้าสังคมบางคนต้องสูบบุหรี่ เพราะหน้าที่การงานที่ต้องเข้าสังคม งานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรอง ซึ่งมีผู้สูบ ในสังคมนั้นๆ เชิญชวนให้สูบ บางคนจะสูบเฉพาะในงานสังคมเท่านั้น ทั้งนี้เป็นความเชื่อที่ว่าถ้าไม่สูบก็จะเข้ากลุ่มไม่ได้ และทำธุรกิจไม่สำเร็จ
              ความเครียดสารนิโคตินในควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าร่างกาย จะเข้าสู่สมองภายในเวลา ๘ - ๑๐วินาที ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงหดรัดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้นหายใจเร็วขึ้น และกระตุ้นสมองส่วนกลาง ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในระยะต้นหลายคนจึงสูบบุหรี่ ด้วยเหตุผลเพื่อคลายความเครียดแต่เมื่อปริมาณนิโคตินในสมองลดลง จะทำให้ผู้สูบเกิดอาการหงุดหงิดและเครียดได้ในเวลาต่อมา และนี่คือเหตุผล ที่ทำให้ต้องสูบบุหรี่อยู่เสมอเพื่อคงระดับนิโคตินไว้ในร่างกาย
                กระแสของสื่อโฆษณาสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อมล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอย่างมาก สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะเชื่อและนิยมชมชอบ ในผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามการโฆษณาบุหรี่แต่บางประเทศที่ไม่มีกฎหมายห้าม ก็มีการโฆษณาทุกรูปแบบซึ่งเผยแพร่ไปทั่วโลก ตามการสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบันเยาวชนสามารถรับรู้สื่อโฆษณาบุหรี่ของต่างประเทศได้    ทั้งทางหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ทางวิทยุ และโทรทัศน์ นอกจากนี้กลยุทธ์ในการโฆษณาแฝงของอุตสาหกรรมบุหรี่ ที่หลีกเลี่ยงกฎหมายก็มีมาก คือการจดทะเบียนการค้า โดยใช้สัญลักษณ์ตราบุหรี่เป็นสินค้า เช่นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องเรือน ของใช้ต่างๆและบริษัทท่องเที่ยว และการสนับสนุนต่างๆ ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่นการจัดแสดงดนตรี การจัดแข่งรถให้วัยรุ่น การแสดงแบบเสื้อให้กลุ่มสตรีและการแจกสมุดหรือหนังสือ ที่มีตราบุหรี่ให้แก่เด็กเล็ก ในต่างประเทศยังมีการโฆษณาแฝงทางภาพยนตร์ โดยให้ดาราที่เป็นที่ชื่นชอบสูบบุหรี่และให้เห็นสัญลักษณ์ของบุหรี่นั้นด้วย การโฆษณาทุกรูปแบบจะเน้นที่ความโก้เก๋ ทันสมัย และเร้าใจซึ่งส่งผลอย่างมากในการส่งเสริมให้สูบบุหรี่เยาวชนจึงมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่ยี่ห้อที่มีการโฆษณา บ่อยๆ   อายุเฉลี่ยของคนไทยที่ติดบุหรี่คือ ๑๘ ปี            (โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.2556)
                จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าปัจจัยที่ทำให้สูบบุหรี่นั้น คือ ความอยากรู้อยากลองมากที่สุดและทำตามเพื่อนๆ ส่วนมากคนที่ติดบุหรี่จะอยู่ในช่วงวัยรุ่น
โทษของการสูบบุหรี่
              การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคที่ทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายเสื่อมลงและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย การสูบบุหรี่ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปอดพบว่า 90% ของโรคมะเร็งปอดในผู้ชายและ 79% ของโรคมะเร็งในผู้หญิงเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่
โทษจากบุหรี่เกิดจากสารประกอบในควันบุหรี่ควันบุหรี่จะมีสารประกอบต่างๆ มากกว่า 4,000 ชนิดสารประกอบเหล่านี้บางชนิดมีคุณสมบัติให้โทษต่อร่างกายสารแต่ละชนิดสามารถก่อโรคได้แตกต่างกันไป พบว่ามีสารมากกว่า 50 ชนิดในควันบุหรี่ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในสัตว์และในคน การสูบบุหรี่เพียง 1 ซองต่อวัน ผู้สูบจะต้องสูบบุหรี่มากกว่า 70,000 ครั้งต่อปีทำให้เนื้อเยื่อในช่องปาก จมูก ช่องคอและหลอดลมสัมผัสกับควันบุหรี่ตลอดเวลาเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับควันบุหรี่โดยตรงจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า เช่นเนื้อเยื่อของหลอดลม สำหรับอวัยวะอื่นๆที่ไม่สัมผัสควันบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งจากสารในควันบุหรี่ที่ถูกดูดซึมผ่านกระแสเลือด
                 โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดจากบุหรี่การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว (atherosclerosis) การสูบเพียงวันละ 4 มวนเป็นประจำพบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้สำหรับผู้สูบบุหรี่โดยที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆในการเกิดโรคนี้ เช่นโรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูงพบว่าจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมากขึ้น                                                                                                                    
                  โรคปอดจากบุหรี่บุหรี่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคมะเร็งปอด ผู้ที่สูบบุหรี่เพียงวันละ 1 ซองจะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 10 เท่า สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่วันละ 2 ซองจะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 25 เท่านอกจากนี้ยังพบอาการไอเรื้อรัง เสมหะมากและหายใจไม่สะดวกในผู้สูบบุหรี่เมื่อตรวจการทำงานของปอด (pulmonary function test) จะพบความผิดปกติได้มากกว่าถึงแม้ผู้สูบนั้นจะอายุน้อยก็ตาม
                   โรคระบบทางเดินอาหารจากบุหรี่ในผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะพบว่ามีโอกาสเกิดแผลที่  กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นการสูบบุหรี่จะทำให้แผลหายช้าและทำให้ยายับยั้งการหลั่งกรดบางชนิดทำงานได้ผลไม่ดี การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งกล่องเสียงมะเร็งช่องปากและหลอดอาหารและถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร่วมด้วยโอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่เลิกสูบบุหรี่แล้วโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งกลุ่มนี้จะลดลงอย่างรวดเร็วและเมื่อเลิกได้นาน 15 ปี พบว่าโอกาสเสี่ยงจะเท่ากับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
                   ผลต่อการตั้งครรภ์การสูบบุหรี่ทำให้โอกาสที่จะตั้งครรภ์ยากขึ้นผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และสูบบุหรี่ จะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าทารกปกติประมาณ 170 กรัมนอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น (
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.2556)
                   จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า โทษของการสูบบุหรี่นั้นเป็นสาเหตุของโรคที่ทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายเสื่อมลงและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
การเกิดโรคและผลเสียจากการสูบบุหรี่ มีดังนี้
  ทำให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและทำให้ฟันเหลือง ตาแดง เล็บเขียว มีกลิ่นตัวและกลิ่นปากรุนแรงเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม นอกจากนี้ยังเสียเงินจำนวนมากโดยใช่เหตุและยังส่งผลร้ายต่อคนรอบข้างเป็นเช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดลม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด (มะเร็ง ที่ทรมานมากที่สุด) มีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 20 เท่าถุงลมโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้หายใจติดขัด หอบ จนถึงตายได้และยังเป็นโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลโรงตับแข็ง เช่นเดียวกับการดื่มสุราโรคปริทนต์ (ฟันเน่าเละ)โรคโพรงกระดูกอักเสบโรคความดันโลหิตสูงอีกทั้งประสาทในการรับรสแย่ลงมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้
ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่
                   วรีพร พิศอ่อน (2542)ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ไว้ว่า การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมากและเป็นผลดีที่เกิดขึ้นได้ทันทีที่เลิกสูบทั้งในเพศหญิงและชาย ในทุกกลุ่มอายุไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ต่อไป โดยผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ก่ออายุ 50 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังคงสูบต่อไปเมื่อทั้งสองกลุ่มมีอายุ 65 ปี การเลิกสูบบุหรี่ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งในระบบอื่นๆ หัวใจวายกะทันหัน เส้นเลือดในสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ส่วนผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3 - 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ แต่ผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.3 กิโลกรัม ในการหยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปความเสี่ยงของการที่จะเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินระบบหายใจ
                  อัจฉราวรรณ สร้อยทอง(2542)ได้ให้คำนิยามการหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดมะเร็งทางเดินระบบหายใจไว้ว่าการหยุดสูบ10 ปี ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดจะเท่ากับร้อยละ 30-50 ของผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปและอัตราเสี่ยงยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน 10 ปี และอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่พบทั้งในเพศชายและหญิงทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ชนิดก้นกรองและชนิดที่ไม่มีก้นกรอง การหยุดสูบบุหรี่มีอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำคอและกล่องเสียงเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่ต่อไปและการหยุดสูบบุหรี่ลดความผิดปกติที่จะกลายไปเป็นมะเร็งในระยะแรกของเยื่อบุลำคอ กล่องเสียง และปอด
การหยุดสูบบุหรี่กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
                   หลังจากหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา 5 ปี อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในช่องปากและหลอดอาหารส่วนต้น จะลดลงครึ่งหนึ่ง เทียบกับคนที่ยังสูบบุหรี่ต่อไปและอัตราเสี่ยงยังคงลดลงต่อเนื่องหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน 5 ปี และการหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับอ่อน เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบต่อไป       แต่การลดลงของความเสี่ยงนี่จะพบหลังจากหยุดสูบบุหรี่เกิน10 ปีขึ้นไป ส่วนอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกลดลงอย่างมากในหญิงที่เลิกสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปแม้ว่าจะหยุดสูบไปเพียง 2-3 ปี (อารยา หาอุปะละ.2547)
การหยุดสูบบุหรี่กับมะเร็งนอกระบบทางเดินหายใจ
                  การหยุดสูบบุหรี่ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในทุกกลุ่มอายุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันลดลงครึ่งหนึ่ง หลังจากหยุดสูบบุหรี่ครบ 1 ปี และจะลดลงอย่างช้าๆต่อไป หลังจากหยุดสูบบุหรี่เป็นเวลา 15 ปี ความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ส่วนในกรณีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน การหยุดสูบบุหรี่จะลดโอกาสของกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโอกาสเสียชีวิตลงอย่างกะทันหันลงเป็นอย่างมาก รายงานการวิจัยพบว่าโอกาสจะเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรลดลงถึงร้อยละ 50 และในผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดตีบตันที่ขา การหยุดสูบบุหรี่ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้นลดโอกาสที่จะถูกตัดขาหลังจากการผ่าตัดเส้นเลือดและอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นและผู้ที่เลิกสูบบุหรี่หลังการหยุดสูบบุหรี่ลดโอกาสของการเป็นลมปัจจุบันเนื่องจากเส้นเลือดสมองตีบและแตก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ภายในเวลา 5 ปี แต่ในบางรายต้องหยุดสูบบุหรี่ภายในเวลา 15 ปี ความเสี่ยงจะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ (อรวรรณ หุ่นดี.2543)
การหยุดสูบบุหรี่และโรคปอดชนิดอื่นๆ
                 การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดอาการไอ ลดจำนวนเสมหะ ลดการหายใจมีเสียงวี้ด และลดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่นหลอดลมอักเสบและในผู้ที่ยังไม่เกิดอาการของโรคถุงลมโป่งพอง การหยุดสูบบุหรี่จะทำให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้นร้อยละ 5 ภายใน 2-3 เดือนหลังจากเลิกสูบบุหรี่ส่วนผู้ที่หยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร อัตราการเสื่อมของปอดจะชะลอตัวลงจนเท่ากับความเสื่อมที่เกิดในผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ส่วนผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ได้อย่างถาวรอัตราการเสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพองจะลดลงแต่ยังคงมีอัตราการเสี่ยงเท่ากับผู้ที่สูบบุหรี่ต่อไป (อรุณีย์ ศรีนวล.2550)
  การหยุดสูบบุหรี่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
                  ร้อยละ 80 ของผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่มีเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้นที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 9 กิโลกรัม สาเหตุที่น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการกินอาหารที่มากขึ้น    และการเผาผลาญพลังงานที่น้อยลงหลังการหยุดสูบบุหรี่และการออกกำลังกายสม่ำเสมอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยลดอาหารไขมัน อาหารทอด จะช่วยทำให้ควบคุมน้ำหนักได้
การหยุดสูบบุหรี่และการเจริญพันธุ์
                 ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ จะทำให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับบุตรที่เกิดจากแม่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนอายุครรภ์30 อาทิตย์ จะให้กำเนิดบุตรที่น้ำหนักตัวมากกว่าหญิงที่สูบบุหรี่ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์และการวิจัยพบว่าถึงจะลดจำนวนบุหรี่ที่สูบระหว่างการตั้งครรภ์บุตรที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ลดจำนวนบุหรี่ที่สูบและการสูบบุหรี่จะทำให้ประจำเดือนของสตรีหมดเร็วขึ้น 1-2 ปี ในผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ อายุที่ประจำเดือนหมดจะใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่(ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์.2547)
  การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และพฤติกรรมหลังการสูบบุหรี่
                 ในระยะแรกของการหยุดสูบบุหรี่ผู้ที่สูบมักจะมีความกังวล หงุดหงิด อารมณ์ร้อน โกรธง่าย ไม่มีสมาธิ อยากอาหารเพิ่มมากขึ้นและมีความอยากที่จะสูบบุหรี่อยู่ตลอดเวลาอาการเหล่านี้จะหายไปในระยะเวลาอันสั้นแต่ความอยากสูบบุหรี่และความรู้สึกว่ารสชาติอาหารดีขึ้นจะยังคงมีอยู่ต่อไปอีกซักระยะหนึ่ง ส่วนสมรรถภาพของการทำงานง่ายๆหลายอย่างที่ใช้สมาธิจะลดลงเป็นระยะเวลาสั้นๆแต่ไม่พบว่ามีความผิดปกติของความจำและความสามารถในการเรียนรู้และการทำงานที่ใช้ความสามารถสูงอื่นๆภายหลังการหยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบระหว่างที่สูบบุหรี่กับผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ไปแล้ว พบว่าผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ได้สำเร็จมีความชื่อมั่นในตัวเองสูงกว่า และสามารถควบคุมตัวเองได้ดีกว่าผู้ที่ยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้แต่ผู้ที่หยุดสูบบุหรี่แล้วมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอื่นๆมากกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่ต่อไป
                 จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการเลิกสูบบุหรี่นั้นเป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก     และเป็นผลดีที่เกิดขึ้นได้ทันทีมีชีวิตที่ดีขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหา
                 บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่ในการป้องกัน แก้ไขปัญหาบุตรหลานเมื่อพบว่ามีพฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ทั้งทางด้านจิตวิทยาในการอบรมเลี้ยงดูและผู้ปกครองควรไม่ให้บุตรหลานประพฤติผิดเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และควรประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลานในเรื่องของการสูบบุหรี่และควรอย่าทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ หย่าร้างหรือแยกกันอยู่ทำให้บุตรหลานมีจิตใจว้าวุ่น สับสนจึงหาทางออกด้วยการสูบบุหรี่เพราะขาดความร่วมมือกับผู้ปกครองในการอบรบสั่งสอน กวดขันบุตรหลาน
                  นักเรียนมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องและมีพฤติกรรมทำตามกลุ่มเพื่อนด้วยคิดว่าการ สูบบุหรี่ทำให้เป็นสุภาพบุรุษหรือแสดงลักษณะความเป็นชายให้สังคมรู้จักซึ่งนักเรียนเอาแบบอย่างตามกลุ่มเพื่อน โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งมักใช้กลุ่มอ้างอิงในแง่ความคิด ความรู้สึก การกระทำ ทั้งนี้เพราะนักเรียนต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มและต้องการยอมรับจากกลุ่มดังนั้นครอบครัวควรให้ความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน และสร้างความสามัคคีในครอบครัว ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาเมื่อบุตรหลานมีปัญหาควรศึกษาให้เข้าถึงพัฒนาการและปัญหาของบุตรหลาน มีจิตวิทยาในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลาน รวมทั้งอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานและให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการพัฒนาส่งเสริมบุตรหลานทั้งในด้านการเรียน การอาชีพและชีวิตสังคม
และควรอบรบเลี้ยงดูบุตรหลานให้สามารถที่จะเผชิญความจริงในชีวิตได้และควรสังเกตและติดตามพฤติกรรมของบุตรหลานอยู่เสมอเกี่ยวกับการคบเพื่อนที่สูบบุหรี่และรีบให้ความดูแลช่วยเหลือ
(
ประกิต วาทีสาธกิจ.2550)
                        จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า แนวทางการแก้ปัญหานั้นผู้ปกครองต้องให้ความรัก ความอบอุ่นดูแล เอาใจใส่บุตรหลาน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลานของตนเอง










บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Methodology)
การศึกษาค้นคว้าเรื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ผู้ศึกษาได้ทำตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1.             ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.             การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
4.             การเก็บรวบรวมข้อมูล
5.             การวิเคราะห์ข้อมูล
6.             สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
       ประชากร
               ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
     กลุ่มตัวอย่าง
               กลุ่มตัวอย่าง  เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 120 คน ประกอบด้วย
         
              นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นนักเรียนชายทั้งหมด 40 คน
              นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นนักเรียนชายทั้งหมด 40 คน
              นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนชายทั้งหมด 40 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
         เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
                1.แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น
การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
               การสร้างแบบสอบถามเรื่อง ปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น และหาคุณภาพตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
               ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน โดยการศึกษาเนื้อหาสาระ แนวคิด และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
               ขั้นที่ 2 การสร้างแบบสอบถาม โดยกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยเป็น 5 ระดับ โดยปรับปรุงจากหนังสือวิจัยเบื้องต้น ดังนี้
                           ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
                           ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50  หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
                           ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง
                           ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50  หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย
                           ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด
                ขั้นที่ 3 การนำเสนอแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อคำถามและส่วนที่ยังบกพร่อง ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญ คือ
                          คุณครูศริญ  เชยคำแหง  ( ครูผู้สอน )
                 ขั้นที่ 4 นำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทำการสำรวจกับนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  จำนวน 120 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วนำผลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์ตามเกณฑ์ที่กำหนด
                ขั้นที่ 5 สรุปแบบสอบถามการสำรวจความคิดเห็น

การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.             ดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาค้นคว้า
2.             ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทำโดยการแจกแบบสอบถามแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2557 ถึง เดือน กันยายน 2557 โดยผู้ศึกษาได้แจกแบบสอบถามด้วยตนเอง และได้ชี้แจงข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด
3.             ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่ได้จากการตอบคำถามทั้งหมด 120 ชุด ได้รับคืน 120 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 เพื่อดำเนินการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
               ผู้ศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ โดยดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้
1.             ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบคำถามทุกฉบับที่ได้รับคืน
2.             วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม ดังนี้
2.1      นำแบบสอบถามการศึกษาปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 มาแจกแจงความถี่ของค่าคำตอบแล้วหาค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น และนำค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้มาเทียบกับเกณฑ์เพื่อแปรผลคะแนน ดังนี้
                                         ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
                                         ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50  หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
                                         ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง
                                         ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50  หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย
                                         ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด
                        2.2 นำแบบสอบถามมาประเมินจากการแสดงความคิดเห็น

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
              สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1.             สถิติในการหาคุณภาพของแบบสอบถาม หาค่าระดับความคิดเห็นอย่างมีระเบียบ โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น
2.             สถิติพื้นฐานเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 ค่าร้อยละ ใช้วิธีเกี่ยวกับสถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
2.2 ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียนโรงเรียนท่าตุมประชาเสริมวิทย์  เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบของการสูบบุหรี่ของนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33    

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า (Findings/Results)
                   ผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโทษของการสูบบุหรี่ สาเหตุของการสูบบุหรี่และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในปัจจุบัน และเผยแพร่ความรู้จากการศึกษาให้กับชุมชนและกลุ่มเยาวชนนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
       1.ข้อมูลส่วนตัว
       2. ผลการสำรวจปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น  
ข้อมูลส่วนตัว
       ตารางที่ 1 แสดงเพศของผู้ตอบแบบสอบถามเรื่องปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น  
เพศ
จำนวน (คน)

ชาย

120

                  จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นจำนวนของเพศผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 120 คน เป็นชายทั้งหมด 120 คน
                 ตารางที่ 2 แสดงระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามเรื่องปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น  
ระดับการศึกษา
จำนวน(คน)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
40
40
40

                   จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 120 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนระดับชั้นละ 40 คน
อาศัยอยู่กับ
จำนวนคน
จำนวนร้อยละ
บิดา-มารดา
60
50.0
                     บิดา
9
7.5
                     มารดา
8
6.6
                     ปู่,ย่า
1
0.8
                     ตา,ยาย
42
35.0
                    อื่นๆ
0
0
ตารางที่ 3 แสดงสถานะภาพการอาศัยอยู่ของผู้ตอบแบบสอบถาม เรื่องปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น
                   จากตารางที่ 3 เป็นจำนวนนักเรียนที่อาศัยอยู่กับ บิดา- มารดา , บิดา , มารดาปู่-ย่า , ตา-ยาย , อื่นๆ เป็นจำนวนทั้งหมด 120 คน
ผลการสำรวจปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น  
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น  
ลำดับ
ประเด็นสาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ระดับความคิดเห็น
รวม
5
4
3
2
1
1
ท่านสูบเพื่อความอยากรู้อยากลอง
59
31
15
9
6
120
2
ท่านสูบโดยการทำตามเพื่อน เพื่อนชวน
19
60
17
14
10
120
3
ท่านสูบเพื่อให้สามารถเข้าร่วมกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ได้
23
42
26
18
11
120
4
ท่านคิดว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่โก้เก๋  ทันสมัย ไม่ตกยุค
18
48
24
21
9
120
5
ท่านคิดว่าการที่สูบบุหรี่ทำให้เกิดความดูดี  มีความมั่นใจตัวเองมากขึ้น
25
37
27
16
15
120
6
ท่านคิกว่าการที่สูบบุหรี่นั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครเขาก็ทำกัน
26
30
23
24
17
120
7
ท่านมีความเครียด หรือความน้อยอกน้อยใจ จึงใช้บุหรี่เป็นที่พึ่ง
25
40
24
16
15
120
8
ท่านเชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่เข้าไปแล้วจะทำให้จิตใจแจ่มใส ไม่ง่วง
22
35
26
18
19
120

        ตารางที่ 4 (ต่อ)
ลำดับ
ประเด็นสาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ระดับความคิดเห็น
รวม
5
4
3
2
1
9
ท่านสูบโดยการทำตามบุคคลในครอบครัว
41
25
19
 26
9
120
10
ท่านสูบเพราะว่าเป็นความเคยชิน
19
40
30
19
12
120
11
ท่านสูบเพราะอิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน การลอกเลียนแบบดารา นักร้อง ที่ตนเองชื่นชอบ
32
25
26
20
17
120
               จากตารางที่ 4 พบว่าจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า สาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ มากที่สุด อันดับที่ 1คือ เกิดจากการที่วัยรุ่นมีความอยากรู้อยากลอง อันดับที่ 2 คือ วัยรุ่นสูบบุหรี่โดยการทำตามบุคคลในครอบครัว เช่น สมาชิกภายในครอบครัว ผู้ปกครอง เครือญาติ สูบวัยรุ่นจึงทำตาม และอันดับที่ 3 คือ คือสูบเพราะอิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน การลอกเลียนแบบดารา นักร้อง ที่ตนเองชื่นชอบ  และประชากรกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า สาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่น้อยที่สุด อันดับที่ 1คือ คิดว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่โก้เก๋  ทันสมัย ไม่ตกยุคอันดับที่ 2 คือ ท่านสูบโดยการทำตามเพื่อน เพื่อนชวนและสูบเพราะว่าเป็นความเคยชินอันดับที่ 3 คือ เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่เข้าไปแล้วจะทำให้จิตใจแจ่มใส ไม่ง่วง
       ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของประชากรที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น
ลำดับ
ประเด็นสาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
1
ท่านสูบเพื่อความอยากรู้อยากลอง
49.1
25.8
12.5
7.5 
5.0
2
ท่านสูบโดยการทำตามเพื่อน เพื่อนชวน
15.8
50.0
14.1
11.6
8.3
3
ท่านสูบเพื่อให้สามารถเข้าร่วมกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ได้
19.1
35.0
21.6
15.0
9.1
4
ท่านคิดว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่โก้เก๋  ทันสมัย ไม่ตกยุค
15.0
40.0
20.0
17.5
7.5
5
ท่านคิดว่าการที่สูบบุหรี่ทำให้เกิดความดูดี  มีความมั่นใจตัวเองมากขึ้น
20.8
30.8
22.5
13.3
12.5
6
ท่านคิกว่าการที่สูบบุหรี่นั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครเขาก็ทำกัน
21.6
25.0
19.1
20.0
14.1


      ตารางที่ 5 (ต่อ)
ลำดับ
ประเด็นสาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
7
ท่านมีความเครียด หรือความน้อยอกน้อยใจ จึงใช้บุหรี่
เป็นที่พึ่ง
 20.8
 33.3
20.0

13.3
12.5

8
ท่านเชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่เข้าไปแล้วจะทำให้จิตใจแจ่มใส ไม่ง่วง
18.3

29.1

21.6

15.0

15.8

9
ท่านสูบโดยการทำตามบุคคลในครอบครัว
34.1
20.8
15.8
21.6
7.5
10
ท่านสูบเพราะว่าเป็นความเคยชิน
15.8
33.3
25.0
15.8
10.0
11
ท่านสูบเพราะอิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน การลอกเลียนแบบดารา นักร้อง ที่ตนเองชื่นชอบ
26.6
20.8
21.6
16.6
14.1
                             จากตารางที่ 5 พบว่าจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า สาเหตุและพฤติกรรม     การสูบบุหรี่ มากที่สุด อันดับที่ 1คือ เกิดจากการที่วัยรุ่นมีความอยากรู้อยากลอง คิดเป็นร้อยละ 49.1 อันดับที่ 2 คือ วัยรุ่นสูบบุหรี่โดยการทำตามบุคคลในครอบครัว เช่น สมาชิกภายในครอบครัว ผู้ปกครอง เครือญาติ สูบวัยรุ่นจึงทำตาม คิดเป็นร้อยละ 34.1  และอันดับที่ 3 คือ คือสูบเพราะอิทธิพลจากการโฆษณาของสื่อมวลชน การลอกเลียนแบบดารา นักร้อง ที่ตนเองชื่นชอบ คิดเป็นร้อยละ 26.6  และประชากรกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า สาเหตุและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่น้อยที่สุด อันดับที่ 1คือ คิดว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่โก้เก๋  ทันสมัย ไม่ตกยุค คิดเป็นร้อยละ15.0 อันดับที่ 2 คือ ท่านสูบโดยการทำตามเพื่อน เพื่อนชวน คิดเป็นร้อยละ 15.8 และสูบเพราะว่าเป็นความเคยชิน คิดเป็นร้อยละ 15.8 อันดับที่ 3 คือ เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่เข้าไปแล้วจะทำให้จิตใจแจ่มใส ไม่ง่วง คิดเป็นร้อยละ 18.3






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น